ความรู้เรื่องเสาอากาศทีวี

เสาอากาศทีวีอนาล็อก กับ เสาอากาศทีวีดิจิตอล ต่างกันอย่างไร

สถานีส่งระบบอนาล็อก  มักจะมีสถานีส่งอยู่กันคนละที่   ตัวแผงเสาอากาศทีวีแบบอนาล็อก   จึงมีการผลิตออกมาเพื่อรับเฉพาะความถี่ช่องนั้นๆโดยตรง   ในกรณีช่องอนาล็อกเดิม มีอยู่ 6   คือสถานี 3 5 7 9 NBT TPBS   สำหรับช่อง 3 9 TPBS ส่งอยู่ที่ตึกใบหยก 2  ช่อง 5 7 ส่งอยู่ที่สะพานแดง ส่วนช่อง NBT จะส่งอยู่ที่สถานีเพชรบุรีตัดใหม่     และมีการโยกย้าย ตามวันเวลาเพื่อความสมบูรณ์ของการส่งสัญญาณ    การส่งสัญญาณมี 6 ช่องความถี่ความถี่ละ 1 ช่องรายการ   แผงเสาอากาศทีวีจึงมีจำนวน 6 แผงเช่นกัน     เมื่อเวลาตั้งรับสัญญาณ  จะได้หันเสาอากาศทีวีตรงไปยังสถานีส่งในแต่ละแผง    เพื่อการรับสัญญาณที่ดีที่สุด   นี่คือการตั้งแผงรับเสาอากาศทีวีสำหรับ เสาอากาศทีวี อนาล็อก แบบเดิม

สถานีส่งระบบ ดิจิตอลทีวี
ตามข้อกำหนดของ  กสทช.    เสาส่งสัญญาณออกอากาศจะต้องอยู่ที่เดียวกัน  และ ความถี่ที่เลือกใช้ให้ใช้อยู่ในระบบ UHF 470-690 MHz เท่านั้น     กลายเป็นข้อดีทั้งการจัดส่งสัญญาณและการตั้งรับสัญญาณเพื่อรับชม    ช่วยให้ง่ายและประหยัด    สำหรับ กทม. จัดส่งที่อาคารใบหยก 2  และสถานีส่งต่างจังหวัดทุกๆที่ก็จัดส่งเสาส่งเดียวกันทุกที่    สำหรับการตั้งแผงเสาอากาศทีวีดิจิตอล    ก็ลดเหลือแค่ แผงเสาอากาศเพียงแผงเดียว   จากเดิมที่ต้องติดตั้งมากถึง 6 แผงรับได้  6 ช่องรายการ     มาเหลือแค่แผงเดียวรับชมทุกช่องรายการ
ทำไมถึงเหลือแผงเสาอากาศทีวีแค่แผงเดียว   ด้วยทุกสถานีส่ง ส่งสัญญาณที่เสาส่งต้นเดียวกัน  หากต้องผลิต แผงเสาอากาศ ตามความถี่ที่ส่ง  การตั้งแผงเสาอากาศทีวี ก็จะดูสิ้นเปลือง เพราะ  แผงเสาอากาศทีวีจะหันไปทางเดียวกันทั้งหมด  และ เนื่องด้วยความถี่ ดิจิตอลทีวีที่ทาง กสทช. กำหนดให้ใช้  ก็มีเพียงคลื่นความถี่ย่าน UHF 470-690MHz เท่านั้น  จึงสามารถ ออกแบบ แผงเสาอากาศทีวี แบบ ไวด์แบนด์ (Wide Band)  1 แผง รับครบทุกความถี่ได้แบบง่าย  จึงเป็นการประหยัด สำหรับผู้รับชมและผู้บริโภคโดยรวม
แผงเสาอากาศทีวี  UHF อนาล็อกเดิม หรือ แผงเสาอากาศ ITV เดิม
นำมาใช้รับ สัญญาณทีวีดิตอล ได้หรือเปล่า ตอบ...รับได้นะครับ แต่จะรับได้ไม่ครบทุกความถี่ จะขาดหายไม่ครบช่อง   เนื่องจากแผงเสาอากาศทีวี UHF แบบอนาล็อกเดิม   จะออกแบบให้รับสัญญาณแบบ 1 แผง 1 ความถี่ โดยตรง   ในขณะที่แผงเสาอากาศทีวีแบบดิจิตอล 1 แผง รับได้ครบทุกความถี่
เสาอากาศทีวีดิจิตอลไทยแซท ออกแบบอย่างไร
สำหรับแผงเสาอากาศทีวีดิจิตอล ไทยแซท เริ่มออกแบบและผลิต  ในช่วงที่ระบบทีวีดิจิตอลกำลังเริ่มต้นพอดี ทำให้เราเข้าใจ  เรื่องหลักการออกอากาศ ของ กสทช เช่น เสาส่งรวมกัน  ความถี่ที่ใช้ส่งในระบบ UHF เท่านั้น และช่วงหลังกำหนดความถี่  เหลือเพียง 470-690 MHz จึงทำให้การออกแบบ ทำได้ตาม  กฏระเบียบที่วางใหม่ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
 หลักการออกแบบในระบบใหม่เป็นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์   คำนวณสร้าง และ ทดสอบก่อนการผลิตจริง ที่เขาเรียกว่า  การ ซิมูเลชั่น (Simulation) เป็นการทดสอบความถี่ที่จะรับ  ทุกความถี่กับแผงเสาอากาศที่ออกแบบ ว่า มีความสามารถ  ในการรับตรงตามที่ต้องการหรือไม่ เมื่อผ่านขบวนการคำนวณแล้ว  ทดสอบ ซิมูเลชั่น (Simulation) ผ่านโปรแกรมแล้ว  เมื่อผ่านขั้นตอนต่างจนมั่นใจ จึงเข้าสู่ขบวนการผลิต  และทดสอบการใช้งาน ว่าเป็นจริงดั่งที่มีการ ซิมูเลชั่น (Simulation)  หรือไม่ผลทดสอบเมื่อเป็นไปตามที่คำนวณและผลิตจริงทดสอบจริง  จึงมีการผลิตเป็นจำนวณมากออกวางขายสู่ตลาด
 

 

Visitors: 738