ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการรับสัญญาณทีวีดิจิทัล

ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการรับสัญญาณทีวีดิจิทัล

ข้อแนะนําเบื้องต้นเกี่ยวกับเสาอากาศรับสัญญาณทีวีดิจิทัล
              แนะนําให้เลือกสายอากาศรับสัญญาณที่รองรับย่านความถี่วิทยุ UHF 470 – 694 MHz ที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับ ลักษณะของการรับสัญญาณของจุดรับสัญญาณที่ติดตั้ง เช่น เสาอากาศภายนอกอาคาร เสาอากาศภายในอาคาร (อาจเลือกแบบแอกทีฟซึ่งอาศัยไฟเลี้ยงจากกล่องรับสัญญาณ) และควรตรวจสอบระยะห่างจากสถานีส่งสัญญาณจากเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันประกอบ * DTT SERVIICE AREA *
               ทั้งนี้ การคํานวณในเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันนี้ ดําเนินการด้วยวิธีการตามที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) กําหนด โดยอาศัยแบบจําลองการแพร่กระจายคลื่น ประกอบกับข้อมูลทางเทคนิคของผู้รับใบอนุญาตโครงข่าย โทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล ข้อมูลความสูงภูมิประเทศและลักษณะการใช้งานพื้นที่ และเป็นการคํานวณจากพื้นที่ ครอบคลุมสัญญาณในลักษณะ Fixed Rooftop ดังนั้น การรับสัญญาณในลักษณะ Portable Indoor จะมีความแตกต่าง บ้างขึ้นกับปัจจัยของสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม การรับสัญญาณในพื้นที่จริงจะขึ้นกับปัจจัยอื่นๆ ในพื้นที่ ซึ่งอาจแตกต่างจาก สมมติฐานที่ใช้ในการคํานวณด้วย เช่น ความสูง ทิศทาง และตําแหน่งติดตั้งของสายอากาศรับสัญญาณ สิ่งกีดขวางต่างๆ โดยรอบ เป็นต้น

 ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและทําให้ไม่สามารถรับสัญญาณทีวีดิจิทัลได้ครบถ้วน 

- หากใช้เสาอากาศรับสัญญาณทีวีแอนะล็อกเดิม หรือเสาอากาศรับสัญญาณที่มีอยู่แล้ว  จะไม่รองรับย่านความถี่สูงหรือไม่รองรับครบทั้งย่านความถี่ของทีวีดิจิทัล โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่มีอายุการใช้งาน มานานมาก (เกินกว่า 10 ปี)
- สายเคเบิ้ลภายในบ้านมีอายุการใช้งานมากเกินหรือไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
- ในบางพื้นที่อาจรับสัญญาณจากสัญญาณสะท้อน ดังนั้นในขณะติดตั้งสายอากาศให้ทดสอบโดยการปรับตําแหน่งที่ตั้ง หรือหมุน ทิศทางของเสาอากาศไปรอบๆ เพื่อดูทิศทางที่รับสัญญาณได้ดีที่สุด

ลักษณะการรับสัญญาณทีวีดิจิทัลและสายอากาศ
ข้อแนะนําการติดตั้งเสาอากาศ กรณีพิจารณาความแรงของสัญญาณในแต่ละพื้นที่
ระยะห่างจากสถานี บริเวณพื้นที่รับสัญญาณ ข้อแนะนําในการเลือกสายอากาศ
ไม่เกิน 30 กม.
กรณีพื้นที่ที่มีสัญญาณแรงและมีระยะห่างจาก สถานีประมาณไม่เกิน 10-15 กม.  เสาอากาศภายในอาคารแบบแอกทีฟ (Active indoor antenna)
อย่างไรก็ตามพื้นที่ในกรณีนี้มีโอกาสที่รับสัญญาณได้จากเสาอากาศเกือบทุก ประเภท โดยหากอยู่ใกล้สถานีมากอาจใช้แบบพาสซีฟ (Passive) ก็เพียงพอ
กรณีพื้นที่ที่มีสัญญาณแรงมาก (อยู่ใกล้สถานีมาก)  เสาอากาศภายนอกอาคาร และอัตราขยาย (Gain) สูงสุดบนความถี่วิทยุ 470 – 694 MHz มีค่าสูงกว่า 7 dBi แต่ไม่เกิน 10 dBi 
กรณีพื้นที่ที่มีสัญญาณแรง (อยู่ใกล้สถานี)  เสาอากาศภายนอกอาคาร และอัตราขยาย (Gain) สูงสุดบนความถี่วิทยุ 470 – 694 MHz มีค่าสูงกว่า 10 dBi แต่ไม่เกิน 13 dBi 
มากกว่า 30 กม.
กรณีพื้นที่ที่มีสัญญาณปกติ เสาอากาศภายนอกอาคาร และอัตราขยาย (Gain) สูงสุดบนความถี่วิทยุ 470 – 694 MHz มีค่าสูงกว่า 13 dBi แต่ไม่เกิน 16 dBi 
กรณีพื้นที่ที่มีสัญญาณอ่อน (อยู่ไกลสถานี)  เสาอากาศภายนอกอาคาร และอัตราขยาย (Gain) สูงสุดบนความถี่วิทยุ 470 – 694 MHz มีค่าสูงกว่า 16 dBi 

การเลือกจุดรับสัญญาณหรือตําแหน่งการวางของเสาอากาศ

- กรณีเสาอากาศภายนอกอาคาร ควรหันเสาอากาศรับสัญญาณให้เข้าหาสถานีส่งสัญญาณ
- กรณีเสาอากาศภายในอาคาร ควรวางเสาอากาศไว้ใกล้กับประตูหรือหน้าต่างซึ่งหันออกไปหาสถานีส่งสัญญาณ
- พยายามหาจุดวางเสาอาคารเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางระหว่างจุดรับสัญญาณและสถานีส่ง อาทิ บ้าน อาคาร ต้นไม้ ภูเขา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรับสัญญาณบริเวณชั้นล่างของบ้านหรือบริเวณที่มีอาคารหนาแน่น)

Visitors: 800